เมนู

เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวก
ของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน
ปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย 10 คืน 10 วัน จงยก
ไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด 9 คืน 9 วัน 8 คืน 8 วัน
7 คืน 7 วัน 6 คืน 6 วัน 5 คืน 5 วัน 4 คืน 4 วัน 3 คืน 3 วัน
2 คืน 2 วัน 1 คืน 1 วัน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปี
ก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามี
ก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะ
ทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่านทั้งหลายเสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีแล้ว
ที่ท่านทั้งหลาย เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้
บางคราวก็รักษาอุโบสถอันมีองค์ 8 บางคราวก็ไม่รักษา.
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้จักรักษาอุโบสถ อัน
ประกอบด้วยองค์ 8 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสักกสูตรที่ 6

อรรถกถาสักกสูตรที่ 6


สักกสูตรที่ 6

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โสกลภเย แปลว่า มีภัยเพราะความโศก. ปาฐะว่า โสกภเย
ดังนี้บ้าง. ในบทที่ 2 ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยน กมฺมฏฺฐาเนน
ความว่า บรรดาการงานทั้งหลายมีการไถ การค้าขาย เป็นต้น การงาน
อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อนาปชฺช อกุสลํ ความว่า ไม่ถึงอกุศลไร ๆ

บทว่า นิพฺพิเสยฺย ได้แก่ พึงให้เกิดขึ้น ไม่ถึงให้เสียไป. บทว่า ทกฺโข
แปลว่า ผู้ฉลาด. บทว่า อุฏฺฐานสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความขยัน
หมั่นเพียร. บทว่า อลํ วจนาย แปลว่า ควรที่จะกล่าว. บทว่า เอกนฺต-
สุขปฏิสํเวที วิหเรยฺย
ความว่า รับรู้เสวยสุขทางกายและทางใจส่วนเดียว
ด้วยญาณอยู่.
บทว่า อนิจฺจา ได้แก่ มีแล้วก็ไม่มี. บทว่า ตุจฺฉา ได้แก่ เว้นจาก
ความชื่นใจ. บทว่า มุสา ได้แก่ กามแม้จะล่วงประหนึ่งว่าเที่ยง งาม และ
สุข ก็ไม่เป็นอย่างนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า โมสธมฺมา ได้แก่ มีอันเสียไป
เป็นสภาวะ เพราะฉะนั้น จึงทรงชี้ว่า อาศัยกามเหล่านั้นจึงเกิดทุกข์. บทว่า
โว ในคำว่า อิธ โข ปน โว นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปณฺณกํ วา
โสตาปนฺโน
ความว่า หรือว่าเป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดโดยส่วนเดียว.
แม้ผู้นั้นทำฌานให้เกิดแล้ว ก็ไปพรหมโลก หรือเสวยสุขส่วนเดียวใน
กามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นอยู่. ในพระสูตรนี้ พระศาสดาตรัสคุณของอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ 8.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ 6

7. มหาลิสูตร


ว่าด้วยเหตุแห่งการทำบาปกรรมและกัลยาณกรรม


[47] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่า
มหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้นนั้นแล กษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ได้
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-